Tuesday, December 28, 2010

Hope all be happy



ปีใหม่ ให้เปี่ยมสุขและความหวัง


+++++++++++++

Tuesday, November 30, 2010

ทรงพระเจริญ


๘๓ สยามมินทร-ราชเจ้า
พรรษา ยั่งยืนยาว
มหา ชนแซ่ซ้องยินดี
ราช กิจหลากหลายที่
ของ องค์ภูมี
ไทย ทั่วหล้าหน้าใส
ขอ ปวงเทพอวยชัย
ทรง ประทานพรให้
พระเจริญ ยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วย กระหม่อมขอเดชะ


***ขอบคุณภาพต้นฉบับจาก มติชนออนไลน์

================

Friday, November 26, 2010

Wednesday, November 17, 2010

กฐินวัดวัง ๕๓


เชิญร่วมบุญ

กฐินวัดวังตะวันตก

วันศุกร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

Thursday, September 23, 2010

วัดวังตะวันตก

ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
พิกัดแผนที่
เส้น รุ้ง ๘ องศา ๒๖ ลิปดา ๑๙ ฟิลิปดาเหนือ เส้นแวง ๙๙ องศา ๕๗ ลิปดา ๕๐ ฟิลิปดาตะวันออก
Google Maphttps://goo.gl/maps/WDDBexxuPczKCiEK6
ประวัติความเป็นมา
สถานที่ ตั้งวัดวังตะวันตกแต่เดิมเป็นป่าขี้แรดใช้เป็นที่ค้างศพของคนในเมืองซึ่งนำ ออกมาทางประตูผี ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมือง แล้วนำล่องเรือมาตามคลองท้ายวังเขาคลองทา แล้วเอาศพไว้ในที่ที่เป็นป่าขี้แรด ต่อมากลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่าเพราะประเพณีการค้างศพได้เลิกนิยมไป ที่บริเวณนี้จึงกลายเป็นบ้านตากแดด คือปล่อยทิ้งไว้ให้แดดเผา เพื่อล้างสถานที่ที่เคยค้างศพและไม่มีผู้คนกล้าเข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาเจ้าจอมปราง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า แม่นางเมืองหรือแม่วัง เห็นเป็นที่ว่างและอยู่ใกล้กับวังของท่านเพียงคนละฟาก จึงเกิดความคิดที่จะดัดแปลงที่ว่างนั้นให้เป็นอุทยาน เพื่อเป็นที่พักผ่อนของเจ้าพระยานคร (น้อย) บุตรชาย ประกอบกับเจ้าพระยานคร (พัด) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้ดัดแปลงป่าขี้แรดให้เป็นอุทยาน ต่อมาถึงสมัยเจ้าพระยานคร (น้อย) ได้ตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ต้องรับภาระจัดการพระศพเจ้าจอมมารดาปราง ได้เลือกเอาอุทยานแห่งนี้เป็นที่ฌาปนกิจศพ และได้ปรับปรุงวังตะวันออกให้เป็นวัดวังตะวันออกพร้อม ๆ กันนี้ได้แปรสภาพอุทยานแห่งนี้ให้เป็นวัดอีกวัดหนึ่ง เรียกว่า " วัดวังตะวันตก "

เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ได้สร้างพระพุทธรูปสูงใหญ่ขึ้นองค์หนึ่งไว้ทางทิศใต้ของบริเวณวัด โดยสร้างไว้บนเนินดินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน ถวายชื่อว่า "พระศรีธรรมโศกราช" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของผู้เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คนทั่วไปนิยมเรียกว่า "พระสูง" เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ ประชาชนได้ร่วมกันสร้างวิหารคลุมไว้

ภายในวัดวังตะวันตกมีกุฏิทรงไทยหลังหนึ่งมีลักษณะเป็นหมู่ เรือนไทยสร้างด้วยไม้ เป็นเรือนฝากระดานแบบเรือนสร้างสับ ๓ หลัง หลังคาหน้าจั่วหันไปทางทิศตะวันออกทั้งหมด ตัวเรือนเป็นกุฏิไม้ฝาประกน มีลวดลายแกะสลักไม้ ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ เป็นรูปบุคคลมีปีกประกอบลายพรรณพฤกษา ลายหัวบุคคลมีลำตัวเป็นก้านต้นไม้ กรอบหน้าต่างด้านล่างสลักเป็นลายเครือเถาและลายเรขาคณิต เรือนหลังกลางเป็นห้องโถงโล่ง และเรือนอีก ๒ หลัง เป็นปีกยกพื้นสูงทั้ง ๒ ข้าง มีฐานที่มีหลังคาคลุมต่อเชื่อมกัน หลังคามุงกระเบื้องไม่เคลือบ ด้านทิศตะวันตกเป็นเรือนครัว ซึ่งได้ย้ายมาประชิดกุฏิภายหลัง ใต้กุฏิยกพื้นสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดีปัจจุบันมีชานเรือนทำด้วยปูนซิ เมนต์ เชื่อมหมู่กุฏิและเรือนครัวเข้าด้วยกัน
มีจารึกสลักบนไม้เหนือบนประตูหลังกลางทางด้านตะวันออก กล่าวถึงการสร้างกุฏิหลังนี้ว่า "...กุฏิสามหลังข้างครัวข้างโน้น ข้าพเจ้าอาจารย์ย่อง พร้อมด้วยญาติบรรณาแลสานุศิษย์ ได้เตรียมการจัดหาเครื่องเสาตั้งแต่ปีมเมียจัตวาศก มาได้ยกขึ้นเมื่อ ณ วัน ๒ฯ๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก พุทธศักราชล่วงแล้ว ๒๔๓๑ พรรษา ก็ทำต่อมาก็ทั่ง ณ วัน ๓ฯ๕ ค่ำปีมแมสัปตศก เป็นวันฉลอง ๑๓ ปีแล้วเสร็จ ก็ทำครั้งนี้เพื่อจะเปลื้องธุระสงฆ์ที่กังวนด้วยฟากฝา แลจะได้อยู่อาไสยเอาเรียนพระธรรม์บำรุงพุทธศาสนาให้จิรัง ท่านผู้อ่านผู้ฟังจงอนุโมทนารับส่วนบุญด้วยเทอญฯ..." นั่นมายถึงว่าอาคารหลังนี้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ใช้เวลาสร้าง ๑๓ ปี เพื่อให้พระสงฆ์ได้อาศัยเรียนพระธรรมบำรุงพุทธศาสนา ผู้สร้างคือ พระครูกาชาด(ย่อง) ร่วมกับบรรดาญาติโยม สานุศิษย์
ความเป็นมา (๒)
จากคำบอกเล่าของผู้ใหญ่สืบต่อกันมาว่า เดิมเป็นที่วัดของพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะย้ายวังจากที่ตั้งเดิมไปหรือหมดวงศ์ของพระยาศรีธรรมมาโศกราช จึงปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า โดยเป็นทรัพย์สินของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่ ๔ ได้มีพระภิกษุสงฆ์เดินธุดงค์มาปักกลดอาศัยพักเป็นครั้งคราว ทายาทของพระยานคร (น้อย) จึงยกถวายให้เป็นที่วัด เพื่อให้พระภิกษุมาอาศัยอยู่เป็นประจำ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) พระครูกาชาด (ย่อง อินทสุวณฺโณ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และได้ขอพระราชทาน วิสุงคามสีมา สร้างอุโบสถ ก่อด้วยอิฐ ถือปูนขาว สร้างศาลาการเปรียญ กุฏิทรงไทย และหอพระไตรปิฏก จึงเป็นวัดที่สมบูรณ์
วัดวัง ตะวันตก มีเนื้อที่วัดทั้งหมด ไม่รวมธรณีสงฆ์ จำนวน ๑๑ ไร่ ๒ งาน ๔๑ ตารางวา
โบราณสถานและโบราณวัตถุของวัดวังตะวันตก
ประกอบด้วยพระพุทธรูปปางสดุ้งมาร ก่อด้วยอิฐ ถือปูนขาว หน้าตักกว้าง ๑ วา เศษ สูง ๒ วาเศษ ประดิษฐานอยู่บนอาสน์ดินสูง ๒ วาเศษ ชาวบ้านเรียกว่า พระศรีธรรมาโศก หรือ "พระสูง"
สิ่งก่อสร้างภายในวัด ประกอบด้วย
๑. อุโบสถตามแบบ กรมการศาสนา ขนาด ๘.๕๐ X ๒๓ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
๒. ศาลาการเปรียญ ทรงไทยประยุกต์ ขนาด ๑๐ X ๒๐ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
๓. หอพระไตรปิฏก ขนาด ๑๒ X ๑๒ เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูนขาว ๒ ชั้น
๔. หอรูปพระครูกาชาด ขนาด ๓.๗๐ X ๓.๒๐ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
๕. กุฏิเจ้าอาวาส ทรงไทยประยุกต์ ขนาด ๒๐.๕ X ๒๒.๒๕ เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก
๖. หอฉัน ตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น ทรงปั้นหยา ขนาด ๑๓.๗๕ X ๒๘ เมตร
๗. กำแพงวัด คอนกรีตเสริมเหล็ก สูง ๑.๗๐ เมตร
- ด้านทิศตะวันออกยาว ๑๐๕ เมตร
- ด้านทิศใต้ ยาว ๗๒ เมตร
๘. กุฏิทรงไทย ๑๐๐ ปี ขนาด ๙.๘๕ X ๑๔ เมตร

กุฏิทรงไทยเป็นอาคารเรือนไทยหลังงามระดับหนึ่งในภาคใต้ หรืออาจติดอันดับต้นของประเทศก็ว่าได้ ลักษณะเป็นหมู่เรือนไทยสร้างด้วยไม้ เป็นเรือฝากระดานแบบเรือนสร้างสับ ๓ หลัง หลังคาหน้าจั่วหันไปทางทิศตะวันออกทั้งหมด เรือนหลังกลางเป็นห้องโถงโล่งและเรือนอีก ๒ หลัง เป็นปีกยกพื้นสูงทั้ง ๒ ข้าง มีฐานที่มีหลังคาคลุมต่อเชื่อมกัน หลังคามุงกระเบื้องไม่เคลือบ ด้านทิศตะวันตกเป็นเรือนครัว ซึ่งได้ย้ายมาประชิดกุฏิภายหลัง ปัจจุบันมีชานเรือนทำด้วยปูนซิเมนต์เชื่อมหมู่กุฏิและเรือนครัวเข้าด้วย กัน ตัวเรือนกุฏิไม้เป็นแบบเรือฝาประกน มีลวดลายแกะสลักไม้ ตกแต่งตามส่วนต่าง ๆ เป็นรูปบุคคล มีปีกประกอบลายพรรณพฤกษา ลายหัวบุคคลมีลำตัวเป็นก้านต้นไม้ กรอบหน้าต่างด้านล่างสลักเป็นลายเครือเถาและลายเรขาคณิต ใต้กุฏิยกพื้นสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี
ประวัติการ อนุรักษ์
๒๕๓๓ คณะกรรมการดำเนินการบูรณะกุฏิทรงไทยมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๓ ให้ย้ายกุฏิไปตั้งไว้ทางด้านทิศเหนือของวัด
๒๕๓๔ มีการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิทรงไทยทั้งหลังเป็นเงินงบประมาณ ๑,๒๒๔,๔๗๕ บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินงบประมาณของกรมศิลปากร ๘๐๐,๐๐๐ บาท และเงินบริจาคของจังหวัดนครศรีธรรมราช ๔๒๔,๔๗๕ บาท บริษัทศิวกรการช่างเป็นผู้ดำเนินการ
๒๕๓๖ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานคณะกรรมาธิการ อนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มีมติให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๖
๒๕๕๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๔ เสนอของบประมาณสำหรับการบูรณะ งบประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ลำดับเจ้าอาวาส ครองวัดวังตะวันตก ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ รวมทั้งหลักฐานที่เป็นภาพวาดและภาพถ่ายในงานทำบุญประจำปีอดีตเจ้าอาวาส
มี ดังนี้


















๑. พระครูกาชาด (ย่อง อินฺทสุวณฺโณ) *


















๒. พระปลัดเจียม รตโน *

















๓, พ่อท่านรอด *

















๔. พระมหาสะอาด สุวรรณนพรัตน์*

















๕. พระครูประโชติศาสนกิจ ถึง พ.ศ.๒๕๒๕

















๖. พระเทพสิริโสภณ พ.ศ.๒๕๒๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๐












๗. พระครูพรหมเขตคณารักษ์ พ.ศ.๒๕๖๐
**** ปรับปรุงข้อมูลวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ ****
( * ลำดับก่อนหลังไม่มีหลักฐานยืนยัน )

++++++++++++++++++

Friday, September 10, 2010

อุโบสถของวัดวังตะวันตก

อุโบสถของวัดวังตะวันตก มีความสำคัญตรงที่ความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๐๗
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลูกเธอ และพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟมายังวัดวังตะวันตกนครศรีธรรมราฃ เพื่อทรงยกช่อฟ้าของพระอุโบสถหลังนี้
 









โดยการนี้ทั้งสองพระองค์ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย











ซึ่งต่อมาได้นำมาประดิษฐานอยู่บนผนังของพระอุโบสถ เป็นที่ปรากฎมาจนถึงปัจจุบันนี้


จากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินไปเวียนเทียน วันวิสาขบูชาในปีนั้น ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ยังความปลาบปลิ้มหาที่สุดมิได้แก่พุทธศาสนิกชน และพสกนิกรทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั่วไป


นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายประวัติศาสตร์การเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น
ปรากฎอยู่ตรงผนังทั้งด้านทิศเหนือ และทิศใต้ภายในพระอุโบสถ


( ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้เขต ๒ ขอย้อนรอยพระบาท ดังนี้ ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๓ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๒ เป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรกโดยเสด็จฯ ทางรถยนต์เข้าสู่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่อำเภอทุ่งสง เสด็จเยี่ยมราษฎรรวม ๔ อำเภอ คือ อำเภอทุ่งสง อำเภอเมือง อำเภอพรหมคีรี อำเภอร่อนพิบูลย์ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๐๗ เสด็จฯ โดยทางรถไฟ มายังวัดวังตะวันตก เพื่อทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดวังตะวันตก เสด็จฯ เวียนเทียนเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และเสด็จเยี่ยมสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านศรีธรรมราช)

**********

Thursday, August 5, 2010

เอามาขยายยยย ซ้ำซ้ำ

กาลามสูตร แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกว่า เกสปุตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการคือ

  1. อย่าเพิ่งเชื่ตามที่ฟังๆ กันมา
  2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
  3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
  4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
  5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
  6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
  7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
  8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
  9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
  10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
>>>ขยายซ้ำข้อ ๑ และ ๓ คือ อย่าเพิ่งเชื่อ แม้ข่าวสารจากสื่อมวลชน ทั้งวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เวปนิวส์ email สังคมอนไลน์ต่าง ฯลฯ ทรงกำหนดเป็นข้อแรกๆเลย
>>>ขยายซ้ำข้อ ๑๐ ทรงแนะย้ำว่าแม้แต่คำสอนของ ตถาคตเองก็อย่าเพิ่งเชื่อ<<<<


เป็น
อกาลิโก เอหิปัสสิโก

ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://www.kammatthana.com/D_46.htm


ที่มา
: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3


Sunday, August 1, 2010

WatWang Map


ดู ค่าเช่าวัดวัง ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

Tuesday, January 26, 2010

เลื่อนเก้าอี้


อนเรียนหนังสือชั้นประถม
ช่วงหนึ่งเคยมีปัญหาเรื่องสายตา(เอียง)
มองกระดานดำไม่ถนัด

เพื่อนคนนั่งแถวหน้า
ก็ช่วยแลกที่นั่ง
ให้ได้มีโอกาสมาจดบทเรียนบนกระดานของคุณครู
พอต่อมาเมื่อได้บริหารกล้ามเนื้อตา
ตามคำแนะนำของหมอจนหาย --ตาเอียง
จึงย้ายกลับไปนั่งที่ประจำอยู่เดิม

แววตาเอื้ออารีย์ของเพื่อนคนที่ให้แลกที่นั่งนั้น
ยังประทับแน่นอยู่ในความทรงจำ
อยู่เสมอ...

เติบ โตมาได้รับการเลื่อนเก้าอี้
ให้มา นั่งข้างหน้า อีกหลายครั้งหลายคราว
ต่างวาระและโอกาสโดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน
ให้สิ่งที่กำลังทำร่วมกันนั้น
สามารถเดินไปสู่จุดมุ่งหมายที่วางไว้ได้

ด้วยหลายๆเรื่อง หลายคราว
การได้สลับกันนั่งในบางครั้ง
ไม่นั่งบังกัน ช่วยกันมองช่วยกันเห็น
บางทีคนนั่งหน้ามองไม่เห็นพราะ -- นั่งใกล้เกินไป
มองข้างหน้าแม้เห็นภาพชัดเจนกว่าข้างหลัง
แต่บางมุมสายตาอาจมองไม่ทั่วถึง...

ทำให้ต่างคนต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน


"มานั่งตรงนี้ซิ...เล็ก" ประโยคทำนองนี้
ที่มี ใคร พูดบ้าง
----ฝังแน่นในมโนสำนึก
ของคนชอบนั่งแถวหลัง------


อยากให้บรรยากาศ ของการเลื่อนเก้าอี้นั่ง
มีอยู่ทุก ๆห้องเรียน ทุกๆ บ้าน
ทุกที่ประชุม
ทุกองค์กร
ทุกหน่วยงาน
ตลอดไป........


********

Saturday, January 2, 2010

ม่าย...มีขา



ทุ
กครั้งที่จะไปไหน มาไหนแต่ละที
เป็นต้องหอบ ต้องหิ้ว ขึ้นรถ..ลงเรือ..แม้แต่ขี่เครื่องบิน
ข้ามน้ำข้ามทะเล ในสภาพทุลักทุเล เป็นที่เวทนาแก่ผู้พบเห็นว่า

มันจะบ้าหอบไปถึงไหนก้าาาาน! !!!!!

แล้วมาเมื่อวาน ...
วันปีใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๕๓
วันดีอีกครั้งด้วยเป็นแรมหนึ่งค่ำ จันทร์ยังดวงกลมโต

เค้า (--ต้นคิดคือเจ๊จุรีย์ร้านข้าวปั้นเจ๊อ๋า+พี่ฮะ+พี่มั่น-- )
มาชวนกันพาอาม่าไปชมจันทร์ที่ขนอม
ออกเดินทางห้าโมงเย็น
ถึงโน้น--ที่หมายหาดคอเขา ขนอม--
ก็หกโมงกว่า

แต่แล้ว ภาพความประทับใจ ก้อไม่คมชัดตามต้องการ
ก็เพราะ ม่าย...มีขา
ก็ลืมเอาขาตั้งกล้องไปด้วยนะซิ

มันน่าเสียใจจริง

>>>>>>>ดูเอาเต๊อะ<<<<<<<<<<

*************************************