Tuesday, August 28, 2012

ระเบียบจราจร หรือ ระเบียบจราจล


พระราชบัญญัติจราจรทางบก  พ.ศ. ๒๕๒๒

มาตรา ๑๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็น

การกีดขวางการจราจรเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานจราจร แต่เจ้าพนักงานจราจรจะ

อนุญาตได้ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นและเป็นการชั่วคราวเท่านั้น

ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง นอกจากจะมีความผิดตามมาตรา ๑๔๘ แล้ว เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจสั่งให้

ผู้ฝ่าฝืนรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางดังกล่าวได้ ถ้าไม่ยอมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้าย ให้เจ้าพนักงานจราจร

มีอำนาจรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายได้
มาตรา ๑๓๙ ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่เจ้าพนักงานจราจรเห็นว่าถ้าได้ออกประกาศข้อบังคับหรือ

ระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจร ให้เจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจ

ออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน
(๒) ห้ามหยุดหรือจอด
(๓) ห้ามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ
(๔) กำหนดให้รถเดินได้ทางเดียว
(๕) กำหนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรือที่คับขัน
(๖) กำหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๗) กำหนดช่องหรือแนวทางเดินรถขึ้นและล่อง
(๘) กำหนดทางเดินรถทางเอกและทางเดินรถทางโท
(๙) กำหนดการจอดรถหรือที่จอดพักรถ
(๑๐) กำหนดระเบียบการใช้ทางหรือช่องเดินรถสำหรับรถบางประเภท
(๑๑) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้รถโรงเรียน
(๑๒) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบรรทุกคนโดยสารสำหรับรถจักรยาน
(๑๓) ควบคุมขบวนแห่หรือการชุมนุมสาธารณะ
(๑๔) ควบคุมหรือห้ามเลี้ยวรถในทางร่วมทางแยก
(๑๕) ขีดเส้นหรือทำเครื่องหมายจราจรบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจร
(๑๖) กำหนดระยะทางตอนใดให้ขับรถล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้ได้
(๑๗) กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจอดรถที่ชำรุด หักพัง ตลอดจนรถที่ซ่อมแซมในทาง
(๑๘) กำหนดระเบียบการข้ามทางของคนเดินเท้าบนทางที่ไม่มีทางข้าม
(๑๙) กำหนดการใช้โคมไฟ
(๒๐) กำหนดการใช้เสียงสัญญาณ
(๒๑) กำหนดระเบียบการอนุญาตและการใช้รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางไม่ใช่ยาง
______________
คำพิพากษาศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ ๗๘ / ๒๕๔๖
....เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า บนถนนทั้งสองฟากของถนนจำเริญวิถี มีผู้ค้าประเภทรถเข็นและแผงลอยจอดรถเข็นและตั้งแผงลอยขายสินค้าประเภทอาหารและประเภทอื่นๆ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕   เมื่อผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ถูกฟ้องคดี(นายกเทศมนตรีนคร นครศรีธรรมราช)  ผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  ซึ่งบัญญัติให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่สอดส่องและกวดขันไม่ให้มีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด  การที่ผู้ถูกฟ้องคดีผ่อนผันให้มีการจอดรถเข็นและตั้งแผงลอยขายสินค้าประเภทอาหารและประเภทอื่นๆตลอดมา  โดยไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฏหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ  ทั้งๆที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามมาครา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่จะออกประกาศผ่อนผันให้มีการขายหรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะโดยถูกต้องตามกฏหมายได้ในระหว่างวันเวลาที่กำหนดด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร  แต่ผู้ถูกฟ้องก็หาได้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่  กรณีจึงเห็นได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเลยต่อหน้าที่ ตามที่พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันมีคำพิพากษา
____
สรุปคือ
    ๑. เจ้าพนักงานจราจรไม่มีอำนาจออกประกาศผ่อนผันให้มีการตั้งหาบเร่แผงลอบ
    ๒. ผู้มีอำนาจคือนายกเทศมนตรีผู้เป็นเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น แต่ต้องกำหนดจุดผ่อนผันด้วยความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานจราจร

>>>>>>แล้วประกาศนี้ ออกมาได้ยังไง ??????<<<<<<<