Sunday, July 28, 2013

ต้นเสียง

หลังบ้านเป็นโรงเรียนวัด..
แทบทุกเช้าจะได้ยินเสียงจากเครื่องขยายเสียง
ตอนมีกิจกรรมหน้าเสาธงอย่างชัดเจน

เสียงเจื้อยแจ้วของเด้กผู้หญิงต้นเสียง
ที่กล่าวนำนักเรียนทั้งโรงเรียน
ฟังดูสดใส  น่ารัก สมวัย
เป็นต้นเสียงที่ฟังดูฉะฉาน  มีพลัง


"นักเรียนทั้งหมด ..ตร๊งง!!
เคารพธงชาติ 
ธงขึ้น...

ประเท่ดไท้       รวมเหลือดเนื้อ      ช่าดเชื้อไทย..♭
เป๋นประชา   ....รัด ....ผ่าไทของไท...."


ไม่..นะ !!!  หูไม่ได้เพี้ยน
เธอร้องเพลงชาติ  ไม่ถูกโน๊ต 
ออกเสียง
ไม่ถูกต้องจริง !!!!


เด็กเล็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล
ประถมหนึ่ง..ถึงชั้นสุดท้าย..
ทั้งโรงเรียน
ร้องเพลงชาติตามแบบของต้นเสียง
 ทุกวัน .. ทุกวัน...
จนร้องเพลงชาติ ไม่ถูก ทั้งโรงเรียน 
..............................................
 
..............................................

เคยบ่นดังๆให้ได้ยินไปถึงโรงเรียน

ผลคือ..เสียงเด็กคนเดิม ยังนำร้องเพลง
แต่ร้องแค่ท่อนขึ้นต้น...
และตลอดทั้งเพลง นักเรียนทั้งโรงเรียน
ก็ร้องเพลงชาติเพ้ยน
ตามต้นเสียงที่นำร้องเพลงมาหลายปี..

แม้มีการฝึกเด็กนักเรียนคนใหม่เพื่อจะมา
แทนคนเดิมที่จบการศึกษาไป...

ต้นเสียง...

ก็ยึดความเพี้ยนเสียง
ถ่ายทอดต่อมา 



เรื่องเล็กๆน้อยๆ..
จึงเป็นเหตุของเรื่องที่น่าวิตก  
ต้องตามแก้ปัญหา
ได้อย่างไม่น่าเชื่อ





มองกลับมาถึงเหตุการณ์ใกล้เคียง
ที่มหาเสนาอำมาตย์ในกระทรวงมีนโยบาย
ให้ครูทั้งประเทศ  ต้อง  ฝึกอบรมธรรมกับ
สำนัก  สีหม่นหมอง
ขุ่นมัวทางพระธรรมวินัยและคำสอนของพุทธองค์

ทั้งที่มี ต้นแบบ สีขาวบริสุทธิ์
เช่น สวนโมกข์,หอจดหมายเหตุพุทธทาส, วัดญาณเวศกวัน นครปฐม
หรือ ฯลฯ อีกมากมาย  กระจายอยู่ทุกภูมิภาค
แค่....

โดยธรรมชาติแล้ว
สีขาว ต้นแบบ นั้นย่อมมีโอกาสถูกปนเปื้อน
ทำให้ขุ่น
หมอง
และยังอาจเลอะเปื้อนจนคล้ำ
มึดดำ
ได้อยู่แล้วตามกาลเวลา
หรือเหตุปัจจัยที่เข้ามากระทบ

แล้วทำไม ?
ทำไม ?
ต้องเริ่มที่..สีหม่น

นี่จึงเป็นเหตุ ปัจจัย
ให้ค้องระลึก  นึกถึง
ต้นเสียง ที่ร้องเพลงชาติผิดเพี้ยน
ได้ยิน   ได้ฟัง
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา

 >>>>>><<<<<<<<<

Wednesday, July 10, 2013

ซออี๊

ซออี๊ (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว)หมายถึงการปั้นขนมอี๊(จีน:  汤圆 พินอิน: tāngyuán )
หรือที่รู้จักกันในชื่อขนมบัวลอยของไทย
เพราะมีลักษณะเหมือนกันคือเป้นขนมที่ปั้นเป็นก้อนกลม
จากแป้งแล้วนำไปต้มในน้ำเดือดจนสุกลอยขั้นมา

จะมีความต่างกันคือ ขนมอี๊ทานกับน้ำเชื่อมและทานกันแบบร้อน  แต่บัวลอยจะใช้น้ำกระทิทานทั้งร้อนและเติมน้ำแข็งหรือแช่เย็น  และมีสูตรที่นิยมรับประทานอีกอย่างคือ น้ำขิง ทานกันทั้งร้อนและเย็นเช่นกัน

ขนมอี๊ (จีน:  汤圆 พินอิน: tāngyuán ) มีที่มาจากเทศกาลตังโจ่ย หรือ เทศกาลฤดูหนาว (จีน: 冬至; พินอิน: dōng zhì; จีนกลาง: ตงจื้อ, อังกฤษ: Dōngzhì Festival, Winter Solstice Festival จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน (เดือนธันวาคม) ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย

ในยุคโบราณ ชาวจีนให้ความสำคัญกับเทศกาลตังโจ่ยไม่แพ้วันตรุษจีน เพราะถือเสมือนเทศกาลสิ้นปี ผู้คนจะปิดร้านรวงและบ้านเรือน ทำบุญตามวัดหรือไหว้เจ้า เอกลักษณ์ที่สำคัญในเทศกาลนี้ คือ ผู้คนจะปั้นและกินขนม อี๊
ที่มา วิกิพีเดีย

กิจกรรมที่ร่วมทำกันได้ตั้งแต่เด็กเล็กที่เริ่มรู้ความไปจนถึงผู้อาวุโสวัยชรา
คือการช่วยกันปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลมๆ 

เรื่องราว..หลากหลาย
จากปากคำของผู้เฒ่า ระหว่างการนั้งล้อมวง
ช่วยกัน ซออี๊
เพื่อใช้ไหว้เทพเจ้าในเทศกาล

ขนมอี๊หวานหอมร้อนๆ
สร้างความอบอุ่นและอิ่มท้อง
ท่ามกลางฤดูกาลอันหนาวเหน็บ

สร้างความสุข
ความใกล้ชิด  ความสมัครสมาน
เช่นเดียวกับก้อนแป้งกลมๆ 
ที่ร่วมวงช่วยกัน..ปั้น..
ความผูกพันในครอบครัว...


ซออี๊   จึงกลายเป็นกิจกรรมสำคัญหนึ่งในงานแต่งงาน
นอกเหนือจากการซออี๊ในเทศกาลตังโจ่ย

โดยคืนก่อนงานมงคล
บรรดาญาติสนิทมิตรสหาย
เพื่อนบ้าน และผู้นิยมนับถือ  รักใคร่
ต่างมาร่วมกิจกรรมนี้

เสียงพูดคุย  ทักทาย  หยอกล้ออย่างสนุกสนาน
เปี่ยมด้วยความสุข
ทั้งบ้านฝ่ายชาย  และฝ่ายหญิง
ได้ร่่วมกันสร้างความกลมเกลียว 
กระชับมิตรสัมพันธ์ให้เหนียวแน่น


ขนมอี๊ ( 汤圆 ) จึงนิยมเจือสีชมพู  แดง
ตัวแทนของความสดชื่น  สมหวัง

เป็นบทเรียนแรกให้กับผู้ที่จะสรางครอบครัวใหม่
นับแต่โบราณมา



 -----
วิธีทำขนมอี๊ :